อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

การติดไซเรนที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของ “รถฉุกเฉิน” ไว้ว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้ และ พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติของรถฉุกเฉินไว้ ดังนี้

มาตรา ๗๕  ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้

(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้

(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด

(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้

ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี 

มาตรา ๗๖  เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด

(๒) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

(๓) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

มาตรา ๑๔๘  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาต  ต้องดูประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบ และเสียงสัญญาณ อาศัยอำนาจตามความในข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ฉบับลงวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบและเสียงสัญญาณไว้ ดังต่อไปนี้ …….

ข้อ ๒ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิง รถพยาบาล และรถยนต์ของทางราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

๒.๑ เป็นรถที่ใช้ปฏิบัติภารกิจด้านการถวายความปลอดภัย, การรักษาความปลอดภัย, การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม, การจราจร, การปฏิบัติงานในทางเพื่อการบริการสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานนั้นๆ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

๒.๒ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พิจารณามีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต โดยมีหลักฐานดังนี้

๒.๒.๑ คำร้องขออนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการ

๒.๒.๒ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ 

ข้อ ๓ รถดับเพลิงของเอกชน

๓.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

                ๓.๑.๑ ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัย สำหรับในกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยด้วย

                                ๓.๑.๒ ต้องมีระเบียบ ข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการบริหารและสมาชิก ซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัย หลักสูตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยจากกองบังคับการตำรวจดับเพลิงแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน

                               ๓.๑.๓ ต้องมีสถานที่ทำการหรือสำนักงาน สถานที่จอดรถ สถานที่เก็บรถ ตลอดจนสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัยเป็นของตนเอง หากเป็นสาธารณสถานหรือสถานที่ของผู้อื่น ต้องมีหนังสืออนุญาตจากเจ้าของสถานที่มาแสดงด้วย

๓.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

                ๓.๒.๑ เป็นรถดับเพลิงมาตรฐาน จะมีถังน้ำในตัวหรือไม่ก็ได้หรือเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายซึ่งมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดหาบหามประจำรถ

              ๓.๒.๒ สีของรถต้องเป็นสีแดงตลอดทั้งคัน

              ๓.๒.๓ อุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถ อย่างน้อยจะต้องมี

              ๓.๒.๓.๑ สายสูบหรือสายส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ นิ้ว ๑๕ เส้น

๓.๒.๓.๒ ท่อดูด ๑ ท่อ

๓.๒.๓.๓ หัวฉีดธรรมดาและชนิดปรับเป็นฝอยอย่างละ ๑ หัว

๓.๒.๓.๔ ข้อต่อทางแยก ๒ ทาง ๑ หัว

๓.๒.๓.๕ เครื่องมือเปิดประปาหัวแดง ๑ อัน

๓.๒.๓.๖ ขวาน ชะแลง และตาขอด้ามไม้ขนาดยาว ๑ ชุด

๓.๒.๓.๗ เครื่องดับเพลิงเคมีขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐ ปอนด์ ชนิดดับไฟประเภทเอ.บี.ซี. ได้ จำนวน ๔ เครื่อง

๓.๒.๓.๘ บันไดดับเพลิง ๑ อัน

๓.๒.๔ รถและอุปกรณ์ต้องมีสภาพใช้การได้ดี

๓.๓ การขออนุญาต ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๓.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๔ รายชื่อกรรมการบริหารและสมาชิกของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๓.๓.๖ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถ หากเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายต้องให้เห็นอุปกรณ์ดับเพลิงภายในรถขนาด ๕ 5 ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๓.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถพร้อมภาพถ่ายอุปกรณ์อย่างละ ๑ ชุด

๓.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพหมานครหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหรือหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอ ผู้มีอำนาจอนุญาต

๓.๕ ข้อปฏิบัติการใช้รถ

ผู้ขับขี่รถต้องเป็นสมาชิกของนิติบุคคลผู้รับอนุญาต และต้องแต่งเครื่องแบบอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยขณะปฏิบัติหน้าที่ 

ข้อ ๔ รถพยาบาลของเอกชน

๔.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือสถานพยาบาลประจำโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๔.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

๔.๒.๑ เป็นรถตู้หรือรถที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนาดมาตรฐานรถพยาบาลสีขาวตลอดทั้งคัน

๔.๒.๒ ภายในรถมีกระจกปิดกั้นระหว่างห้องคนขับกับห้องผู้ป่วย และมีเครื่องระบายอากาศระบบไฟฟ้าบนหลังคา

๔.๒.๓ มีอุปกรณ์รักษาพยาบาลและเครื่องช่วยชีวิตฉุกเฉินดังนี้

๔.๒.๓.๑ อุปกรณ์ประจำรถภายในห้องผู้ป่วย

๔.๒.๓.๑.๑ เปลนอนสำหรับผู้ป่วย ขนาดมาตรฐาน

                                ๔.๒.๓.๑.๒ ชุดให้อ๊อกซิเจน สามารถใช้รักษาผู้ป่วยติดต่อกันได้นานไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง

๔.๒.๓.๑.๓ ชุดเครื่องดูดเสมหะ ระบบไฟฟ้า

๔.๒.๓.๑.๔ เก้าอี้สำหรับพยาบาล

๔.๒.๓.๑.๕ ตู้เก็บเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์

๔.๒.๓.๑.๖ อุปกรณ์แขวนขวดน้ำเกลือ

๔.๒.๓.๒ อุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉินและเวชภัณฑ์ (CPR KIT)

๔.๒.๓.๒.๑ เครื่องวัดแรงดันโลหิต (SPHYGMOMANOMETER)

๔.๒.๓.๒.๒ เครื่องฟังหน้าอก (STETHOSCOPE)

                                ๔.๒.๓.๒.๓ เครื่องช่วยหายใจและผายปอด (PORTABLE RESPIRATOR OR AMBU BAG)

                               ๔.๒.๓.๒.๔ เครื่องตรวจส่องภายในหลอดเสียงและท่อหลอดลม (LARYNGOSCOPE AND ENDOTRACHEAL TUBE)

๔.๒.๓.๒.๕ ชุดผ่าตัดเล็ก (MINOR SUR GICAL SET)

                                ๔.๒.๓.๒.๖ เวชภัณฑ์และยาฉุกเฉินรถพยาบาลและอุปกรณ์ ต้องอยู่ในสภาพใช้การได้ดีและให้ความปลอดภัย

                ๔.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พร้อมหลักฐานดังนี้

๔.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล

๔.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ฉบับ

๔.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตตั้งสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๔ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ

๔.๓.๖ ภาพถ่ายสีด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถและอุปกรณ์การแพทย์ ภายในรถขนาด ๕ X ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๔.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ประจำรถตามข้อ ๔.๒ จำนวน ๑ ชุด

๔.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้แพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจหรือแพทย์ของโรงพยาบาลประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

 ข้อ ๕ รถอื่นของเอกชน

๕.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการดังนี้

๕.๑.๑ นำส่งเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือบุคคลซึ่งประสบเคราะห์กรรม กรณีอุบัติภัย หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือกิจการสาธารณูปโภค อันเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน หรือ

๕.๑.๒ การปฏิบัติงานในทางเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนอันเป็นกิจการสาธารณประโยชน์หรือใช้เป็นรถโรงเรียน

๕.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถไม่จำกัด แต่ต้องมีสภาพใช้การได้ดีและต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ในการใช้

๕.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๕.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๕.๓.๔ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถขนาด ๕ x ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๕.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดให้มีการตรวจสภาพรถก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

ข้อ 6 รถบริการแพทย์ฉุกเฉิน

                6.1 เป็นรถที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหนังสือรับรองมาตรฐานยังไม่หมดอายุในวันที่ยื่นเรื่องขออนุญาต

6.2 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

                6.2.1 คำร้องขอติดตั้งไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินที่ผ่านการเห็นชอบของผู้ได้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

                6.2.2 สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ 1 ฉบับ

6.3 ให้ผู้มีอำนาจอนุญาต อนุญาตให้รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใช้ไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินได้เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองมาตรฐานของปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

...........................................................

โค๊ดวอร้อนๆจ้าเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ว.0 ขอรับคำสั่ง,แจ้งให้ทราบ
ว.00 คอยก่อน, ให้รับคำสั่ง
ว.1 อยู่ที่ไหน
ว.2 ได้ยินหรือไม่
ว.3 ทวนข้อความ
ว.4 ออกปฏิบัติหน้าที่
ว.5 ความลับ, ไม่สามารถแจ้งได้
ว.6 ขออนุญาติติดต่อโดยตรง (ทางวิทยุ)
ว.7 ต้องการความช่วยเหลือภาวะคับขัน
ว.8 ส่งข้อความเป็นข้อความยาว
ว.9 ขออนุญาติ หรือให้ใช้สัญญาณไฟแดง หรือเสียงไซเรน
ว.10 หยุดรถเพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยติดต่อทางวิทยุได้
ว.11 หยุดรถโดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ สามารถติดต่อทางวิทยุได้
ว.12 หยุดรถ โดยไม่สามารถติดต่อทางวิทยุได้
ว.13 ให้ติดต่อทางโทรศัพท์
ว.14 เลิกปฏิบัติหน้าที่
ว.15 พบ หรือให้ไปพบกัน
ว.16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ
ว.16-1 รับฟังไม่รู้เรื่อง หรือไม่มีเสียงพูด
ว.16-2 รับฟังไม่ชัดเจน จับใจความไม่ได้เลย
ว.16-3 รับฟังพอใช้ได้ มีเสียงรบกวนบ้าง
ว.16-4 รับฟังได้ชัดเจนดี
ว.16-5 รับฟังได้ชัดเจนดีมาก
ว.17 มีเหตุอันตราย ห้ามผ่าน
ว.18 นำรถออกทดลองเครื่อง
ว.19 สถานีวิทยุถูกโจมตี
ว.20 ตรวจค้น จำกุม
ว.21 ออกจาก..สถานที่
ว.22 ถึง..สถานที่
ว.23 ผ่าน..สถานที่
ว.24 แจ้งเวลา, ต้องการทราบเวลา
ว.25 จุดมุ่งหมาย หรือที่หมาย
ว.26 ให้ติดต่อทางวิทยุน้อยที่สุด อาจจะถูกดักฟัง
ว.27 ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 การประชุม
ว.29 ธุระ หรือมีราชการ
ว.30 ขอทราบจำนวน
ว.31 ความถี่ช่องที่ 1
ว.32 ความถี่ช่องที่ 2
ว.33 ความถี่ช่องที่ 3
ว.34 ความถี่ช่องที่ 4
ว.35 เตรียมพร้อมจะปฏิบัติหน้าที่
ว.36 เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
ว.37 เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
ว.38 เตรียมพร้อม 1 ใน 3
ว.39 จราจรติดขัด
ว.40 อุบัติเหตุรถชนกัน
ว.41 สัญญาณไฟจราจรเสีย
ว.42 ขบวนเสด็จ
ว.43 ตั้งจุดตรวจ

คำที่มักใช้บ่อย ๆ

เปลี่ยน เป็นการจบข้อความ เพื่อให้อีกฝ่ายส่ง
ว. 61 ขอบคุณ
ว.100 ขอโทษ
601 สายอากาศ
ศูนย์ขานเวลา เป็นการจบการติดต่อ ให้ผู้ที่ต้องการติดต่อใหม่เข้ามาได้
ว.60 เพื่อน, ญาติ
ว.50 อาหาร, รับประทานอาหาร
602 เครื่องส่งวิทยุ
เหตุฉุกเฉิน

เหตุ 100 เหตุ หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์ มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
เหตุ 111 เหตุ หนึ่ง หนึ่ง หนึ่ง ลักทรัพย์
เหตุ 121 เหตุ หนึ่ง สอง หนึ่ง วิ่งราวทรัพย์
เหตุ 131 เหตุ หนึ่ง สาม หนึ่ง ชิงทรัพย์
เหตุ 141 เหตุ หนึ่ง สี่ หนึ่ง ปล้นทรัพย์
เหตุ 200 เหตุ สอง ศูนย์ ศูนย์ มีเหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย
เหตุ 211 เหตุ สอง หนึ่ง หนึ่ง ทำร้ายร่างกาย ไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 221 เหตุ สอง สอง หนึ่ง ทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 231 เหตุ สอง สาม หนึ่ง ทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุ 241 เหตุ สอง สี่ หนึ่ง ฆ่าคนตาย
เหตุ 300 เหตุ สาม ศูนย์ ศูนย์ การพนันเป็นบ่อน
เหตุ 501 เหตุ ห้า ศูนย์ หนึ่ง วัตถุต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิด
เหตุ 511 เหตุ ห้า หนึ่ง หนึ่ง ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว
เหตุ 512 เหตุ หน้า หนึ่ง สอง วัตถุระเบิดได้ตรวจสอบแล้ว...ไม่ระเบิด
เหตุ 600 เหตุ หก ศูนย์ ศูนย์ นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท
เหตุ 601 เหตุ หก ศูนย์ หนึ่ง นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุ เชื่อว่าจะก่อเหตุ
เหตุ 602 เหตุ หก ศูนย์ สอง นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้ว
เหตุ 603 เหตุ หก ศูนย์ สาม นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายซึ่งกันและกัน
เหตุ 604 เหตุ หก ศูนย์ สี่ นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายกันถึงตาย
เหตุ 605 เหตุ หก ศูนย์ ห้า นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้ายกัน มีวัตถุระเบิด
601 หก ศูนย์ หนึ่ง
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) เครื่องวิทยุรับ-ส่ง
602 หก ศูนย์ สอง
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) เสาอากาศ
602.1 หก ศูนย์ สอง จุด หนึ่ง
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) เสาอากาศในตัว
602.2 หก ศูนย์ สอง จุด สอง
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) เสาอากาศภายนอก
603 หก ศูนย์ สาม
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) กำลัง ว.4 โดยรถยนต์
604 หก ศูนย์ สี่
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) ดูโทรทัศน์
605 หก ศูนย์ ห้า
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) รับประทานอาหาร
606 หก ศูนย์ หก
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) ข้อความไม่ถูกต้อง
607 หก ศูนย์ เจ็ด
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) กิจธุระส่วนตัว
608 หก ศูนย์ แปด
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) มีสัญญาณรบกวน แปลกปลอม
609 หก ศูนย์ เก้า
(ไม่มีคำว่า 'เหตุ' นำ) คลื่นรบกวน
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 32,466 Today: 4 PageView/Month: 52

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...