อาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญู
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน(Emergency Medical Services - EMS) ซึ่งเป็นระบบให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วย และผู้บาดเจ็บณ จุดเกิดเหตุก่อนนำส่งโรงพยาบาล(Pre-hospital Care) ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและพิการได้จริง ซึ่งในเวลานี้ นอกเหนือจากประเทศในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำด้านนี้ ประเทศในเอเชียหลายประเทศก็ได้นำระบบนี้ไปใช้ และประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ในประเทศไทย แม้จะมีความพยายามในเรื่องดังกล่าวมา 10-20 ปี แต่ก็กล่าวได้ว่ายังไม่สามารถกำหนดเป็นมาตรฐานการบริการเดียวกันทั่วประเทศได้ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับ หลักสูตรอบรมผู้ช่วยเหลือ และความตื่นตัวของประชาชนยังมีไม่พอ การช่วยเหลือในความคิดของคนทั่วไปจึงคงมุ่งไปที่การเคลื่อนย้ายคนป่วยส่งโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งเรียกได้ว่าถ้าไม่ถึงห้องฉุกเฉินก็จะไม่มีการรักษาพยาบาลใดๆ ซึ่งอาจจะทำให้คนป่วยมีอาการแย่ลง หรือผู้บาดเจ็บบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นจากการเคลื่อนย้ายที่ผิดวิธี

ในที่สุด จึงได้มีความพยายามของหน่วยงานบางกลุ่มที่จัดตั้งระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บของตนเองขึ้น โดยกำหนดมาตรฐานของตนในด้านต่างๆขึ้นมาเอง เช่น หน่วยกู้ชีพนเรนทร โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โดยหน่วยงานท้องถิ่นคือกรุงเทพมหานคร, ศูนย์ส่งกลับ ของกรมตำรวจ รวมทั้งรถพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนและในโรงพยาบาลจังหวัดอีกบางแห่ง

ที่มาของระบบ EMS

การบริการฉุกเฉินทางการแพทย์เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1909 Julian Wise ผู้ซึ่งอายุ 9 ขวบ ได้พบเห็นผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้ำโดยบังเอิญโดยไม่มีใครช่วยเหลือ ตั้งแต่วันนั้น เด็กน้อยผู้นี้ได้กลับไปครุ่นคิดว่าน่าจะมีวิธีที่ช่วยเหลือคนในภาวะฉุกเฉินแบบนี้ได้ ค.ศ.1928 ความฝันของ Wise ก็เป็นจริงจากการรวบรวมอาสาสมัครมาเป็น "Roanoke Life Saving and First Aid Crew" ซึ่งได้สร้างผลงานการช่วยชีวิตจนหน่วยงานราชการท้องถิ่นให้ความสนใจ และให้การสนับสนุน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการกู้ภัยและ EMS สมัยใหม่ ในปี ค.ศ.1966 เอกสารวิจัยชิ้นหนึ่ง ชื่อว่า Accidental Death and Disability: The Neglected Disease of Modern Society ได้เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญโดยมีหลักฐานยืนยันว่าระบบ EMS สามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตในผู้ป่วยและบาดเจ็บฉุกเฉินก่อนที่จะมารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

นับแต่นั้นมาระบบ EMS ในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการพัฒนา มีการออกกฎหมายควบคุมดูแลมาตรฐานของรถพยาบาล วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นขั้นตอน(Protocal) และหลักสูตรบุคลากรหลายระดับ เช่น เจ้าหน้าที่กู้ชีพที่เรียกกันว่า Emergency Medical Technician (EMT) และ นักกู้ชีพ(Paramedic) เพื่อใช้เป็นมาตรฐานหน่วย EMS ทั่วประเทศ จนหลายประเทศได้นำแนวคิดดังกล่าวไปดัดแปลงใช้ โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรป

คัดลอกข้อมูลจาก http://www.geocities.com/p_tarit/eit.html

                                                               

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 32,409 Today: 7 PageView/Month: 100

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...